ประเพณีแห่ยอดพระเจดีย์ทรายวัดบางหญ้าแพรก เป็นประเพณีดั้งเดิม ประชาชน
ในชุมชนแถบตำบลบางหญ้าแพรกจะรู้กันโดยทั่วไป
เมื่อถึงวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6 จะมีการจัดงานประเพณีแห่พระเจดีย์ทราย
(ขนทรายเข้าวัด)ซึ่งโดยปกติจะทำกันในวันสงกรานต์ แต่ที่นี่จะทำกันหลังจากประเพณีสงกรานต์ผ่าน
พ้นไปแล้ว ซึ่งเป็นประเพณีที่แตกต่างจากที่อื่น เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น
ผู้คนก็จะมารวมตัวกันจัดขบวนแห่ต้นเงินเข้าวัดเพื่อที่นำยอดเงินนั้นไปปักบนยอด
พระเจดีย์ทราย การประกวดเจดีย์ทราย ประกวดธิดาเจดีย์ทราย เป็นต้น การแห่ยอดพระเจดีย์ทรายนั้น
มีที่มาเช่นเดียวกับการขนทรายเข้าวัด แต่รูปแบบของงานนั้นจะเป็นการซื้อทรายเข้าวัด เพราะวิถีชีวิต
ของคนเปลี่ยนไป การคมนาคมยุคนี้สะดวกกว่าแต่ก่อนวิธีนำทรายเข้าวัดจึงเปลี่ยนเป็นการซื้อ
และมาร่วมกันก่อเป็นพระเจดีย์ทรายแทน
ศาลเจ้าพ่อทัพ ตั้งอยู่บรเวณริมคลองสำโรง ใกล้วัดมหาวงษ์ ม.7 ตำบลสำโรงกลาง
อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยประวัติความเป็นมาขององค์เจ้าพ่อทัพนั้นเล่าสืบต่อ
กันมา ประมาณ 100 กว่าปีมาแล้ว-ว่าเมื่อครั้งที่ประชาชนส่วนใหญ่ ใช้เรือเป็นพาหนะในการเดินทาง
ค้าขาย ในบริเวณที่ตั้งศาลเจ้าพ่อทัพก่อนนี้จะมีน้ำวน ชาวเรือได้พบแผ่นไม้ลักษณะคล้ายป้ายดวง
วิญญานลอยอยู่ เชื่อกันว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประทับอยู่ จึงได้อันเชิญขึ้นบนฝั่งและได้สร้างศาลไว้
ต่อมาจึงได้สร้างรูปองค์เจ้าพ่อทัพไว้ในศาล เพื่อปกป้องคุ้มกันภัยให้แก่ประชาชน
และได้เคยมีการเสี่ยงทายเพื่อย้ายศาลเจ้าพ่อทัพหลายครั้ง แต่ผลการเสี่ยงทายมักปรากฎว่า
องค์เจ้าพ่อทัพยินดีที่จะสถิต ณ ที่เดิม ศาลเจ้าพ่อทัพจึงตั้งอยู่ที่เดิมจนถึงปัจจุบัน ทว่า ได้มีการก่อสร้าง
ศาลเจ้าพ่อทัพ ซึ่งประดิษฐานเจ้าพ่อทัพองค์จำลอง ริมคลองสำโรง อันเป็นเขตติดต่อระหว่างเทศบาล
เมืองปู่เจ้าสมิงพรายและเทศบาลตำบลสำโรงเหนือ และเมื่อถึงเวลาจัดงานแห่องค์เจ้าพ่อทัพ อันถือเป็น
งานประจำปีที่จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ในช่วงก่อนถึงวันตรุษจีน ประมาณ 1 อาทิตย์ในทุกๆปี จะมีการอันเชิญ
องค์เจ้าพ่อทัพองค์จริงมาประดิษฐาน ณ ศาลเจ้าแห่งใหม่ เพื่อให้ประชาชนได้สักการะ เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว
จึงแห่กลับมายังศาลเดิม
สงกรานต์มอญเดิงฮะโมกข์ จัดขึ้นที่วัดกลางสวน เป็นกิจกรรมที่แสดงออกถึงความ
เป็นมอญอย่างแท้จริง กล่าวคือหลังจากที่ทำบุญตักบาตรในช่วงเช้ากันเรียบร้อยแล้ว จะมีพิธีแห่หงส์
ธงตะขาบ หรือ นู่ อันถือเป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวมอญ ซึ่งมีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ สำหรับ
ขนาดเล็กใช้ปักกับเจดีย์ทรายหรือปักบูชาพระพุทธรูปตามวัด หรือปักที่บรรจุอัฐิบรรพบุรุษบ้าง
ส่วนขนาดใหญ่สำหรับชักขึ้นสู่เสาหงส์
ด้วยหงส์มีความเกี่ยวข้องกับกำเนิดราชธานีเดิมของชาวมอญ หงส์จึงเป็นสัญลักษณ์
สำคัญของชนชาติมอญตลอดมา ส่วนในภาคค่ำก็เป็นการละเล่นสะบ้าทอย อันเป็นเอกลักษณ์ของ
ชาวมอญที่เก่าแก่และโบราณมาก แต่ยังคงสืบทอดและดำรงมาจนปัจจุบันนี้
ถัดไป > |
---|